fbpx

ข้อควรรู้ของ ไข่ดิบ กินอย่างไรจึงจะปลอดภัยได้ประโยชน์

กระแสการรับประทาน “ไข่ดิบ” ในไทยนั้นกำลังเป็นที่พูดถึงเป็นอย่างมาก โดยมีต้นกำเนิดมาจากอาหารญี่ปุ่น โดยมีการนำไข่ดิบตอกลงไปบนข้าวทานกับซอสต่างๆ หรือการดองไข่แดงดิบด้วยการแช่ไข่แดงลงในซอสถั่วเหลืองหรือซอสดองทิ้งไว้ข้ามคืน จนไข่มีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลวคล้ายไข่เค็ม แล้วนำมาทานกับข้าวหรือผัก จากกระแสนี้ทำให้หลายคนอยากลองทำตาม จนเป็นที่นิยมในประเทศไทย แต่ทราบหรือไม่ว่าการรับประทานไข่ดิบนั้น ให้ประโยชน์และโทษอย่างไรบ้าง วันนี้ SUMIRE  มีเกร็ดความรู้ในการรับประทานไข่แดงมาให้ทุกคนดูกันพร้อมจะมาแนะนำวิธีกินไข่ดิบอย่างไรให้ปลอดภัย ถ้าพร้อมเล้วไปดูกันเลยยย!!!

 

ประโยชน์ของไข่ดิบ

การรับประทานไข่ดิบนั้นก็มีประโยชน์เหมือนกับการรับประทานไข่ที่ปรุงสุก โดยไข่ดิบอุดมไปด้วยโปรตีน ไขมันดี วิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถปกป้องดวงตาได้ เช่น ลูทีนและซีแซนทีน รวมถึงสารอาหารอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยในไข่ดิบ 1 ฟอง จะประกอบไปด้วยโคลีนถึง 147 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการทำงานของสมอง โคลีนยังมีประโยชน์และบทบาทต่อสุขภาพของหัวใจและตับ เนื่องจากโคลีน (Choline) เป็นวิตามินกลุ่มเดียวกับวิตามินบี ช่วยลดระดับไขมันเลว (LDL) ป้องกันโรคหัวใจ และช่วยให้เซลล์ตับมีการเผาผลาญไขมันได้อย่างปกติ ลดการสะสมของไขมันที่ตับหรือภาวะไขมันพอกตับ

 

ไข่ดิบมีอันตรายอย่างไร

 

ไข่ดิบมีความลื่นสูงมาก ทำให้ไข่ดิบสามารถไหลผ่านลำไส้เล็กไปได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ลำไส้เล็กไม่สามารถดูดซึมได้ทัน อีกทั้งเมือกของไข่ขาว ยังเข้าไปขัดขวางการทำงานของน้ำย่อยในกระเพาะอาหารอีกด้วย

นอกจากนี้ ในไข่ดิบยังมีสารที่มีชื่อว่า สารอะวิดิน ที่อาจส่งผลทำให้ร่างกายขาดไบโอติน เพราะสารอะวิดินในไข่ดิบ จะไปจับกับสารไบโอติน ซึ่งเป็นวิตามินชนิดหนึ่งของร่างกาย ส่งผลทำให้ร่างกายขาดวิตามินชนิดนี้ จนอาจเกิดผลเสียต่อสุขภาพ ดังนั้น การรับประทานไข่ดิบ จึงทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน และอาจทำให้เรารับเชื้อโรคเข้าไปอีก เพราะฉะนั้นเราควรับประทานไข่ที่สุกแล้วเพื่อกำจัดเชื่อโรคทิ้งไป โดยเฉพาะกับเด็กเล็ก และคนชรา ควรรับประทานไข่ที่สุกแล้วเท่านั้น

วิธีกินไข่ดิบอย่างปลอดภัย

ไข่ดิบนั้นมีสารอาหารที่เทียบเคียงกับไข่ปรุงสุก ทว่า การดูดซึมโปรตีนจะลดลงจากไข่ดิบ และมีความเสี่ยงจากเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนอยู่ และอาจนำไปสู่การติดเชื้อ ซาลโมเนลลา (Salmonella) ได้ ดังนั้น วิธีการป้องกัน ตัวเองจากความเสี่ยงในการรับประทานไข่ดิบคือ เลือกซื้อไข่พาสเจอร์ไรส์ จะทำให้ปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่สำหรับ เด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ควรหลีกเลี่ยงการทานไช่ดิบ และทางที่ดีที่สุดก็คือหันมาบริโภคไข่ปรุงสุกก็สามารถทำให้ลดความเสี่ยงต่างๆ ลงได้ และยังมีประโยชน์ที่ใกล้เคียงกัน

 

ไข่ดิบกับไข่สุก กินอะไรได้ประโยชน์มากกว่ากัน

ไข่ดิบ vs ไข่สุก

เมื่อเปรียบเทียบปริมาณสารอาหารของไข่ไก่ดิบและไข่ไก่สุกที่ผ่านกระบวนการจากการลวกหรือต้มให้สุกนั้น พบว่าปริมาณสารอาหารต่างๆไม่แตกต่างกันเลย จากข้อมูลนี้เองจึงบอกได้ว่าปริมาณสารอาหารที่ได้จากการโดบด้วยไข่ดิบนั้นไม่ได้มีผลใดๆต่างจากไข่สุกเลย นอกจากนั้นเมื่อดูผลเสียที่เกิดจากการบริโภคแล้ว จะเห็นได้ว่าปริมาณคลอเรสเตอรอลจากทั้งไข่ดิบและสุกก็ไม่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่แย่ไปกว่าการได้รับคลอเรสเตอรอลในปริมาณที่สูงแล้ว ไข่ดิบยังนำพาเชื้อโรค มาให้ผู้บริโภคได้อีกด้วย เพราะอาจปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะไก่ที่เลี้ยงในฟาร์มที่ไม่ถูกสุขลักษณะนั้นจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของการปนเปื้อนจากเชื้อแบคทีเรีย Salmonella ที่ ก่อให้เกิดอาการท้องร่วง ได้ และจากการสำรวจไข่ที่ประเทศอังกฤษพบว่าไข่ที่ได้จากฟามร์จะพบว่ามีการปนเปื้อนเชื้อ salmonella ประมาณร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับไข่ไก่ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ pasture egg พบว่ามีการปนเปื้อนเพียงร้อยละ 4.4-6.5 เท่านั้น จึงแนะนำให้รับประทานไข่ที่ปรุงสุกแล้วเท่านั้น ในไข่แดงจะมีสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งงจะเสียคุณภาพไปร้อยละ50หากถูกความร้อนหรือเข้าไมโครเวฟ ดังนั้นหากรับประทานไข่ดิบหรือกึ่งสุกเช่นไข่ลวก ไข่ต๋น หรือไข่ดาวสุกๆดิบจะได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ แต่ต้องเป็นไข่ที่ผ่านการ pasturized แล้วเท่านั้น

 

บทส่งท้าย

จะเห็นได้ว่าโทษของไข่ดิบนั้นมีมากมาย ทั้งการปนเปื้นของเชื้อแบคทีเรียและยังทำให้ขาดวิตามินบางอย่างที่จะสามารถเจอได้ในไข่สุกอีกด้วย  ดังนั้น เราควรรับประทานไข่ที่สุกแล้ว เพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์และสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และไม่รับเชื่อแบคทีเรียเข้าไปในร่างกาย หากใครต้องการตัวช่วยดีๆในการถนอนอาหารเราขอแนะนำ ถุงซีลสุญญากาศของ SUMIRE ที่แข็งแรง ทนทาน ใช้งานง่าย หากใครสนใจสามารถติดต่อสอบถามแอดมิน SUMIRE ได้ที่ไลน์  @sumireth  ได้เลยย

ขอขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล

บทความที่เกี่ยวข้อง