รู้จักกับ Plant based food (เนื้อจากพืช) ทางเลือกใหม่ที่กำลังมาแรง

Plant based food หรือ เนื้อจากพืช หลายๆคนอาจจะสงสัยว่าเป็นอาหารประเภทไหน และมีหน้าตาอย่างไร รชาติอย่างไร เนื้อจากพืช คือ อาหารที่ทำจากพืชโดยการทำนั้นจะมีการทำให้มี รูปร่าง และรสชาติสัมผัสไม่ต่างกับเนื้อสัตว์จริงๆ โดยอาจจะนำมาทำในรูปแบบของไส้กรอก เนื้อปลา สเต็ก เป็นต้น เพื่อเพิ่มความหลากหลายในจานอาหารโดยไม่ต้องเน้นพืชหรือผักเต็มจานมากจนเกินไป

 

Plant based food เนื้อจากพืช คืออะไร

 เป็นอาหารทางเลือกที่เติบโตและเป็นที่รู้จักมากขึ้นในหลายปีที่ผ่านมา Plant-based Food มีพืชที่ให้โปรตีนสูง เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา เห็ด สาหร่าย ข้าวโอ๊ต อัลมอนด์ เป็นแหล่งของโปรตีนจากพืช (Plant-based Protein) โดยเฉพาะเนื้อจากพืช (Plant-based Meat) ซึ่งใช้โปรตีนจากพืช เป็นวัตถุดิบ แต่มาพัฒนารูปลักษณ์ กลิ่น สี รสชาติ และเนื้อสัมผัส ให้ใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ หรือให้เห็นภาพที่ง่ายมากขึ้นคือ “โปรตีนเกษตร” ซึ่งก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของ Plant-based Food ที่นิยมมานานแล้วในกลุ่มผู้บริโภคอาหารมังสวิรัติ แต่ด้วยนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การอาหารที่ก้าวหน้าไปมากทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ออกสู่ตลาดมีความหลากหลายรวมทั้งให้รสชาติกลิ่นและสีสัน เหมือนกับผลิตภัณฑ์จากสัตว์มากขึ้น

 

ข้อดี-ข้อเสียของ Plant based food

ข้อดี

  • ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเนื่องจากอาหารที่รับประทานเข้าร่างกายล้วนมาจากพืชซึ่งมีใยอาหารอยู่มาก
  • ช่วยลดน้ำหนักได้ดี รวมถึงปริมาณของไขมันและคอเลสเตอรอลก็ลดลงด้วยเช่นกัน
  • ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคร้ายต่างๆ ที่มาพร้อมกับการรับประทานเนื้อสัตว์ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดอุดตัน เป็นต้น
  • เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยรักษาสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติ ลดการทำลายสิ่งแวดล้อม

 

ข้อเสีย

  • หากกินแต่พืชเพียงอย่างเดียวอาจเสี่ยงจะขาดสารอาหารบางชนิด เช่น ไอโอดีน ธาตุเหล็ก สังกะสี แคลเซียม หรือวิตามินบี 12 ที่อยู่ในเนื้อสัตว์ นม ไข่ เป็นส่วนใหญ่ แต่ในผักมีน้อยมาก รวมไปถึงอาจไม่ได้รับกรดอะมิโนที่จะได้จากการย่อยโปรตีนของเนื้อสัตว์ด้วย
  • การเน้นกินแต่พืชผักมากจนเกินไปอาจทำให้ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายรวนได้ เช่น มีอาการท้องอืด อึดอัด หรือท้องเสีย เป็นต้น
  • แม้จะมีไขมันและแคลอรีต่ำกว่าโปรตีนจากเนื้อสัตว์ แต่หากรับประทานมากเกินไปก็ให้พลังงานสูงเกินความต้องการได้เช่นกัน จึงต้องจำกัดปริมาณให้พอเหมาะ
  • ระวังการกินอาหาร Plant-Based สำเร็จรูป ที่อาจมีปริมาณโซเดียมหรือมีโพแทสเซียมสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพบางคนได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต เป็นต้น
  • นอกจากนี้ก่อนกินผักควรล้างทำความสะอาดผักให้ดี เพื่อกำจัดสารปนเปื้อนที่มากับผักสด หรือหากเป็นไปได้ หาซื้อผักออร์แกนิค หรือกินโปรตีนพืชที่มาจากธรรมชาติ เช่น พืชที่มีโปรตีนสูงก็ได้เช่นกัน

 

Plant based food มีอะไรบ้าง

ในปัจจุบันกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มจากพืชที่วางจำหน่ายในท้องตลาด ในกลุ่มสินค้าที่ได้รับความนิยม

สามารถจำแนกออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

  • Plant-Based Meats สินค้าเนื้อจากพืชได้แก่ เนื้อบด ไส้แฮมเบอร์เกอร์ ไส้กรอก ฮอตดอก
  • Plant-Based Processed Foods สินค้าอาหารแปรรูปจากพืช ได้แก่ อาหารสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง อาหารกระป๋อง อาหารเด็ก ขนมขบเคี้ยว และผงโปรตีนจากพืช เป็นต้น
  • plant-Based Milks and Plant-Based Milk Products สินค้านมจากพืชและผลิตภัณฑ์พืช ได้แก่ นมจากพืช โยเกิร์ตนมจากพืช ชีสจากพืช และไอศกรีมจากพืช
  • Plant-based Egg เป็นผลิตภัณฑ์ไข่เหลวที่ทำจากถั่วเขียว โดยมีรสชาติและลักษณะใกล้เคียงกับไข่ที่ถูกตีแล้ว

 

รับประทาน Plant based food อย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด